“ตรวจฟัน”คำสั้นๆที่อยู่เหมือนจะไม่มีอะไรมาก แต่คุณรู้ไหมว่ามันคือขั้นตอนเบื้องต้นที่มีความสำคัญมากในการดูแลสุขภาพโดยรวมของช่องปาก ทั้งนี้ยังสามารถเช็คอาการหรือสัญญาณของปัญหาในช่องปากที่อาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้อีกด้วย
เดนทิฟิกให้ความสำคัญในการตรวจฟันเพื่อสุขภาพฟันและช่องปากที่ดีเพื่อป้องกันการลุกลามของปัญหาจุดเล็กๆ ก่อนจะลุกลามไปในระยะยาว ว่าแต่คุณหมอที่เดนทิฟิกตรวจช่องปากส่วนใหญ่คุณหมอจะเช็คอะไรบ้างวันนี้แอดได้รวบรวมข้อมูลจาก ทพญ.กมลทิพย์ สุจริตวณิช (หมอพวง) มาแชร์ให้เพื่อนๆเป็นความรู้กัน
หลักๆในการตรวจสุขภาพในช่องปาก คุณหมอจะตรวจดู เนื้อเยื่อแข็ง ซึ่งหมายถึงการตรวจดู ซี่ฟัน และ เนื้อเยื่ออ่อน คือ การตรวจในส่วนของ เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และ ลิ้น
1) การตรวจดูเนื้อเยื่อแข็ง หรือ ฟัน เริ่มจาก การตรวจดู
การสบฟัน ว่ามีการกระแทกกันหรือไม่ การสบฟันในลักษณะต่างๆ มีความปลอดภัยกับฟันหรือไม่ หรือ มีความสวยงามมากน้อยอย่างไร เพราะการสบฟันที่ดีจะทำให้ฟันเรียงตัวกันสวยงาม ยิ้มได้อย่างมั่นใจ ทำให้การบดเคี้ยวมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
คราบหินปูนที่เกาะอยู่บนผิวฟัน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเมื่อปล่อยไว้นานๆ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อยๆ ละลาย ทำให้ฟันโยกไม่แข็งแรง ทันตแพทย์จะตรวจดูและให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป
ตรวจวัสดุอุดฟันเก่า เป็นการเช็ควัสดุอุดฟันยังแนบกับฟันดีอยู่หรือไม่ มีรอยรั่วหรือไม่ ซึ่งกรณีมีรอยรั่วแต่วัสดุอุดเก่าไม่หลุดออกอาจทำให้เกิดโพรงเล็กๆ เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดรอยผุเพิ่มตรงก้นของวัสดุอุดเก่าซึ่งโพรงที่ผุเพิ่มจะยิ่งเข้าใกล้เส้นประสาทมากขึ้น อาจส่งผลที่น่ากังวลในระยะยาว การตรวจวัสดุอุดฟันแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การเป่าลมเพื่อเช็ครอยรั่ว และ การตรวจแบบ X-ray
** การตรวจแบบ X-ray แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
X-ray PA แผ่นฟิล์มเล็ก โฟกัสรายละเอียดที่ชัดเจนของฟันแต่ละซี่ ถ่ายฟิล์มครั้งละ 3 ซี่ สามารถบอกรายละเอียดของฟันได้ชัดเจนแม้ในมุมที่มีฟันติดกันทึบในด้านประชิด รวมไปถึงตรวจ ฟันผุ รากฟัน ระดับของกระดูก
X-ray OPG แผ่นฟิล์มใหญ่ ดูแบบโดยรวมทั้งหมด ตรวจดูว่ามีฟันเกิน หรือ หายไปหรือไม่ ตำแหน่งของรากฟันอยู่ในระดับปกติ หรือ มีการละลายของรากฟัน ความผิดปกติของกระดูก รวมถึงมะเร็งบางชนิดที่อาจเกิดขึ้นซึ่งสังเกตได้จากรอยโรคเบื้องต้นในกระดูกจากแผ่นฟิล์ม วิเคราะห์ขากรรไกรมีความผิดปกติหรือไม่เท่ากัน ซึ่งอาจมีผลต่อลักษณะของใบหน้าที่ไม่เท่ากันหรือบิดเบี้ยว ตำแหน่งของฟันคุดที่สามารถเห็นชัดเจนทั้งสี่ด้าน
นอกจากนี้ ในส่วนของเนื้อเยื่อแข็ง ทันตแพทย์จะตรวจหา ฟันผุ ฟันสึก ฟันโยก ความสัมพันธ์ของฟันแต่ละซี่ ฟันซ้อนทับ ฟันเก และฟันล้ม ทั้งในกรณีฟันล้มที่เกิดจากการถอนฟันและไม่ได้ใส่ฟันปลอม ฟันห่างที่เกิดขึ้นทั้งฟันด้านหน้าและฟันด้านหลัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเรื่องของความไม่สวยงาม และ เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ทั้งกรณีที่ให้ดูแลรักษาด้วยตนเองและในกรณีที่แพทย์ทำการรักษาอย่างถูกวิธีและเหมาะสม
2) การตรวจดูเนื้อเยื่ออ่อน คือการตรวจหาเชื้อรา รอยฝ้าขาว บนลิ้น เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม และตรวจดูเหงือก สังเกตอาการแดง บวมช้ำ ร่น อักเสบ มีเลือด และหนอง เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากฟัน หรือ เกิดจาก สุขภาพอนามัยในช่องปากที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
ฟันและช่องปากนับว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่เราต้องใช้งานทุกวัน ดังนั้นควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันและช่องปาก เป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ ตรวจเอ็กซ์เรย์ฟัน ปีละ 1 ครั้ง หรือ ทุกๆ 2 ปี ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
เพราะการละเลยการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากอาจทำให้เกิดปัญหามากมาย และอาการที่เกิดจากปัญหาภายในช่องปากเหล่านี้อาจจะส่งผลกับบุคลิกภาพ และความมั่นใจ อีกทั้งปล่อยไว้ระยะยาวอาจเกิดปัญหาที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น หันมาดูแลใส่ใจฟันและช่องปากให้มีสุขอนามัยที่ดีและแข็งแรง ด้วยความห่วงใยและพร้อมให้คำแนะนำปรึกษา จากเดนทิฟิก
ทำนัดตรวจสุขภาพช่องปากวันนี้ได้ที่ 091-068-1490 หรือ Facebook.com/dentific
#ตรวจสุขภาพช่องปาก #dentalcheckup #dentific
コメント